ยุทธศาสตร์/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/อำนาจหน้าที่
หน้าแรก > ยุทธศาสตร์/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/อำนาจหน้าที่
ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)
วิสัยทัศน์
“สร้างสังคมดี คนมีคุณภาพ”
พันธกิจ
พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านสังคมให้มีประสิทธิภาพ
ส่งเสริม สนับสนุนการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ
ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีหลักประกันความมั่นคงในชีวิต
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ศึกษา วิเคราะห์ และรายงานสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจเพื่อการกำหนดนโยบายในระดับจังหวัด รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไข
- ประสานและจัดทำแผนงานโครงการและกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัดให้เป็นไปตามแนวนโยบายของกระทรวง
- ส่งเสริมและประสานการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามภารกิจและเป้าหมายาของหน่วยงานในกระทรวง
- ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานกับองค์กรเครือข่ายในจังหวัดทั้งภาครัฐและเอกชน
- ส่งเสริม ประสานงาน และดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม รวมทั้งส่งต่อให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย
- เป็นศูนย์ข้อมูลด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัด
- เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งความก้าวหน้าทางวิชาการ และผลการปฏิบัติงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
การให้บริการ กลุ่มเป้าหมายผู้ประสบปัญหาทางสังคม
- เด็กและเยาวชน : เด็กอายุแรกเกิดถึง 18 ปี และเยาวชนอายุ 18 ถึง 25 ปี (แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส) – เด็กเร่ร่อน
– เด็กถูกทอดทิ้ง
– เด็กกำพร้า
– เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน - ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีฐานะยากจนไม่มีผู้ดูแลหรืออยู่ในครอบครัวยากจน
- ผู้พิการ หมายถึง บุคคลที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย และสติปัญญาหรือทางจิตใจ
- ผู้ด้อยโอกาส หมายถึง ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนในด้านต่างๆ ได้แก่กลุ่ม ผู้ยากจน บุคคลเร่ร่อนไร้ที่อยู่อาศัย บุคคลไร้สัญชาติ ผู้พ้นโทษ ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว
- สตรี/ครอบครัว หมายถึง สตรีที่เป็นหัวหน้าครอบครัวมีภาระในการเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว (หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ คู่สมรสเสียชีวิต)
- ผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ
- ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว
การให้บริการด้านสวัสดิการ พิทักษ์และคุ้มครองสิทธิ และการพัฒนาสังคม
งานด้านสวัสดิการสังคมพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิ
- งานสงเคราะห์ครอบครัวผู้ประสบปัญหาทางสังคม (ช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ครอบครัว,ส่งเข้าสถานสงเคราะห์,ส่งเสริมอาชีพ/จัดหางาน)
- งานช่วยเหลือค่าจัดการศพผู้สูงอายุ
- งานจดทะเบียนคนพิการ
- งานจัดหาอุปกรณ์สำหรับคนพิการ (รถโยก,รถเข็น)
- งานสงเคราะห์คนไทยตกทุกข์ได้ยากกลับภูมิลำเนาเดิม
- งานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
- งานยุติความรุนแรงในครอบครัว
- งานจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
งานด้านการพัฒนาสังคม
- งานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสตรี
- งานส่งเสริมสภาเด็กและเยาวชน
- งานจดทะเบียนจัดตั้งหอพัก
- งานสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน
- งานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน
- งานจดทะเบียนรับรององค์กรสาธารณประโยชน์และองค์กรสวัสดิการชุมชน
- งานฝึกอาชีพให้แก่ผู้พิการ/ผู้สูงอายุ/ผู้ด้อยโอกาส
งานด้านอาสาสมัครและเครือข่าย
- งานอาสาสมัคระัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
- อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.)
- อาสามสมัครดูแลคนพิการ (อพมก.)
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ และองค์กรภาคประชาชน
งานกองทุนเพื่อส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
- กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
- กองทุนคุ้มครองเด็ก
- กองทุนผู้สูงอายุ
- กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- กองทุนป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
- กองทุนสวัสดิการชุมชน
ยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2560 – 2564
วิสัยทัศน์
- ขับเคลื่อนและบูรณาการนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสังคมอย่างมีผลสัมฤทธิ์
พันธกิจ
- เสนอนโยบาย และยุทธศาสตร์ มาตรการ ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่สามารถสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก
- บูรณาการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- พัฒนาองค์ความรู้ วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดนวัตกรรมทางสังคม
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริการทางสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมอย่างฉับพลัน
ค่านิยมองค์การ
- อุทิศตน อาสางาน เอื้ออาทร อำนวยประโยชน์สุข
ประเด็นยุทธศาสตร์
- พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ผนึกกำลังทางสังคมจากทุกภาคส่วน
- เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาระบบการให้บริการทางสังคม
- พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างธรรมาภิบาล