กองทุนส่งเสริมความเทียบเท่าระหว่างเพศ

วัตถุประสงค์ของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

เงินกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (มาตรา 30) ให้ใช้จ่ายภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1.เพื่อกิจกรรมหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
2.เพื่อคุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
3.เพื่อช่วยเหลือ ชดเชยและเยียวยา หรือบรรเทาทุกข์แก่บุคคลซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศตามมาตรา 26
4.เพื่อการสอดส่อง ดูแล และให้คำแนะนำหรือปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ
5.เพื่อส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
6.เพื่อการติดต่อและประสานงานกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
7.เพื่อการอื่นตามที่คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศเห็นสมควร

ดาวน์โหลด

ลำดับ ชื่อไฟล์
1. ตัวอย่างโครงการ
2. แบบ กทพ.1
3. แบบ กทพ.2
4. แบบ กทพ.3
5. ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สิน
ของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
6. ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สิน
ของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (ฉบับที่ ๒)
7. พรบ.ความเทียบเท่าระหว่างเพศ พ.ศ. 2558

Share:



กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

          กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 โดย      มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายสำหรับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยจะให้การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ และให้การสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนด้านการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การให้การสนับสนุนของกองทุน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. รายบุคคลให้การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์

              1.คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน 

              คือเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ โดยกองทุนสามารถให้ความช่วยเหลือได้     ในกรณีดังต่อไปนี้

                        – การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์

                        – การคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์

                        – การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ในต่างประเทศให้                       เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถิ่นที่อยู่

              2. การยื่นขอรับความช่วยเหลือ

              ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตจังหวัดใด ให้ยื่นที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนั้น ๆ

              3. หลักฐานประกอบการยื่นขอรับความช่วยเหลือ

                        – คำขอรับความช่วยเหลือตามแบบฟอร์มที่กำหนด (แนบท้ายประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์)

                        – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านในเขตจังหวัดที่ขอรับการช่วยเหลือ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

                        – หลักฐานประกอบอื่น ๆ เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

              4.ประเภทรายการที่สามารถให้ความช่วยเหลือประกอบด้วย

                        – ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ

                        – ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าพาหนะ ค่าอาหาร ระหว่างติดต่อรักษาพยาบาล

                         – ค่าใช้จ่ายในการบำบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ

                         – ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ

                         – ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเป็นเครื่องอุปโภคบริโภค

                         – ค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่พัก

                         – ค่าใช้จ่ายในการศึกษาหรือฝึกอบรม

                         – ค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือการดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าสินไหม ทดแทน หรือตามคำสั่งศาล

                         – ค่าใช้จ่ายในการส่งกลับไปยังประเทศเดิมหรือภูมิลำเนาของผู้เสียหาย

                         – ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้เสียหายในต่างประเทศให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร  หรือถิ่นที่อยู่

     ค่าใช้จ่ายในกรณีอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนอนุมัติเป็นการเฉพาะราย

***รายละเอียดเพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการ ค้ามนุษย์ ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

2. รายโครงการ สนับสนุนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรเอกชน

              1.คุณสมบัติของหน่วยงาน/องค์กรที่ขอรับเงินสนับสนุน

              หน่วยงานภาครัฐ หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเป็นกรม หรือเทียบเท่ากรม หรือเทียบเท่ากอง/สำนัก ราชการส่วนภูมิภาค หน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สถานีตำรวจ โรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการ ค้ามนุษย์

              องค์กรเอกชน หมายถึง องค์กรที่บุคคลรวมกันขึ้นและได้จดทะเบียนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 *

(*องค์กรที่จะเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากกกองทุน จะต้องดำเนินการจดทะเบียนองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ก่อน โดยรายละเอียดการยื่นคำขอจดทะเบียน จะเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยการจดทะเบียนองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2552)

              2.การเสนอโครงการ

       ให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนจัดทำรายละเอียดโครงการตามแบบการเสนอโครงการขอรับเงินกองทุน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประจำปี (แบบ กปค.01) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ

              ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

              ส่วนที่ 2 รายละเอียดข้อมูลโครงการขอรับการสนับสนุนเงินกองทุน (แยกตามรายโครงการ) โดยจะต้องจัดทำข้อมูลโครงการให้มีรายละเอียดที่ชัดเจน พร้อมทั้งแนบเอกสารตามที่กำหนดไว้ในแบบฟอร์มให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาโครงการ อนึ่ง สำหรับระยะเวลาการรับโครงการ กองทุนจะเปิดรับตลอดปี

              3.การกำหนดกรอบวงเงินโครงการ

                        วงเงินที่ต่ำกว่า 50,000 บาท หมายถึง โครงการขนาดเล็ก

                        วงเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 300,000 บาท หมายถึง โครงการขนาดกลาง

                        วงเงินที่เกิน 300,000 บาทขึ้นไปแต่ไม่เกิน 3,000,000 บาทหมายถึงโครงการขนาดใหญ่

       ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อการดำเนินโครงการ ซึ่งมีวงเงินเกิน 3,000,000 บาทขึ้นไป ให้เสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พิจารณาเป็นรายกรณีไป

              4.การพิจารณาโครงการ

          กรณีเป็นหน่วยงานภาครัฐ ต้องเป็นโครงการที่ริเริ่มใหม่ หรือเป็นโครงการที่ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณปกติได้ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ กรณีเป็นองค์กรเอกชน ต้องเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานมาแล้ว ซึ่งมีทุนอยู่บางส่วน หรือเป็นโครงการริเริ่มใหม่ ทั้งนี้

            5.โครงการนั้นต้องไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการหรือแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ

สำหรับลักษณะโครงการที่จะได้รับการสนับสนุน ได้แก่ โครงการลักษณะดังต่อไปนี้

          โครงการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน

              โครงการพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหาย

              โครงการที่ดำเนินงานทางกฎหมายและการปราบปราม

              โครงการฟื้นฟูเยียวยาและการคืนสู่สังคม

              โครงการจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูล การติดตามและการประเมินผล

              โครงการพัฒนากลไกการบริหารงานและการจัดการในด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

              โครงการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ

              โครงการอื่นตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์กำหนด

                  ทั้งนี้ ลักษณะโครงการจะต้องมีวัตถุประสงค์และกระบวนการในการดำเนินงานชัดเจน มีผลต่อการแก้ไขปัญหาการช่วยเหลือ หรือการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย หรือการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมทั้งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของบุคคล หรือหน่วยงาน หรือประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา การช่วยเหลือ หรือการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย หรือการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

              6.การยื่นขอรับการสนับสนุน

              กรณีองค์กรที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ประสงค์จะดำเนินโครงการในเขตกรุงเทพฯ ให้ยื่นที่กองบริหารกองทุน สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

              กรณีองค์กรที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ประสงค์จะดำเนินโครงการในจังหวัดใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนั้น ๆ เพื่อพิจารณาในเบื้องต้นก่อนนำส่งสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


Share:



กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

ความเป็นมา
                พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 20 ตอน 94 วันที่ 1 ตุลาคม 2546 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547  ในมาตราที่ 24 กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนหนึ่ง ในสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรียกว่า กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
วัตถุประสงค์ 
                เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546
กลุ่มเป้าหมาย 
1.  องค์การสวัสดิการสังคม (หน่วยงานของรัฐที่ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมและองค์กรสาธารณประโยชน์) ที่ได้รับการรับรองตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 จำนวน  20,000  องค์การ
                – หน่วยงานภาครัฐ                  จำนวน     10,000  องค์การ
                – องค์กรสาธารณประโยชน์        จำนวน     10,000  องค์การ
2.  นักสังคมสงเคราะห์  อาสาสมัคร  และบุคลากรอื่นที่ปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม
                – นักสังคมสงเคราะห์             จำนวน     40,000  คน
                – อาสาสมัคร                      จำนวน         5  ล้านคน
ที่มาของกองทุน 
                1.  เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
                2.  เงินที่ได้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
                3.  เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้
                4.  เงินอุดหนุนจากประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
                5.  เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน  หรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมาย  หรือโดยนิติกรรม อื่น
                6.  ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินกองทุน
การบริหารจัดการกองทุน 
                1.  มีคณะกรรมการบริหารกองทุน มีหน้าที่บริหารกองทุน พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนองค์การสวัสดิการสังคม และรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุน  โดยมีปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน
                2.  มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน มีอำนาจหน้าที่ติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน  ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติแต่งตั้ง 
กิจกรรม 
                1.  สนับสนุนองค์การสวัสดิการสังคม (หน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมและองค์กรสาธารณประโยชน์) ในการจัดสวัสดิการสังคมตามโครงการที่องค์การสวัสดิการสังคมเสนอขอ
                2.  สนับสนุนองค์การสวัสดิการสังคม  ในการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด เช่น การส่งเสริมวิชาการ การอบรมนักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร การจัดทำทะเบียน การรับรองมาตรฐาน เป็นต้น
หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่ขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุน 
                1. เป็นโครงการด้านการจัดสวัสดิการสังคมที่มีผลต่อการป้องกันการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาสังคม
                2. เป็นโครงการที่ไม่ขัดต่อนโยบายรัฐบาลและแผนพัฒนางานสวัสดิการสังคม
                3. เป็นโครงการที่มีการดำเนินงานมาแล้ว ที่โดยมีทุนอยู่แล้วบางส่วน หรือเป็นโครงการใหม่   
ประโยชน์ที่ได้รับ 
                1.  ประชาชนได้รับบริการสวัสดิการสังคมจากองค์การสวัสดิการสังคมที่กว้างขวางและทั่วถึงขึ้น
                2.  องค์การสวัสดิการสังคมได้รับการสนับสนุนจากกองทุน และมีส่วนร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐได้มากขึ้

ดาวน์โหลด

ลำดับชื่อไฟล์
1การรับรองเป็นมูลนิธิสมาคม
 รายละเอียดโครงการที่ของรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์
 คำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ กรณีมูลนิธิ หรือสมาคม
 เอกสารขอรับการพิจารณาเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์/ องค์กรสวัสดิการชุมชน
2การรับรองเป็นองค์กรภาคเอกชน
 รายละเอียดโครงการที่ของรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์
 คำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ กรณีองค์กรภาคเอกชน
 เอกสารขอรับการพิจารณาเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์/ องค์กรสวัสดิการชุมชน
3การรับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน
 รายละเอียดองค์กรที่ของรับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน
 สิทธิประโยชน์และหน้าที่ขององค์กรสวัสดิการชุมชน
 เอกสารขอรับการพิจารณาเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์/ องค์กรสวัสดิการชุมชน
4แบบเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุน
 เงินกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
5เอกสารนำเสนอ
 การเขียนโครงการ

Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial